บริการของเรา > บริการไล่นก ป้องกันนก

 

วิธีการป้องกัน  และไล่นก แบบต่างๆ

 

 

  

 

  1. วิธีการปิดกั้นด้วยตาข่าย ตะแกรง หรือขึงเอ็นกีดขวางนก

    วิธีนี้ถ้าจะให้ได้ผลต้องปิดกั้นในทิศทาง และมุมองศาใช้งาน เฉพาะที่นกไม่สามารถเกาะจับได้ ไม่เช่นนั้นนกจะทำลาย จนเข้ามาอยู่อาศัยได้หรือไม่ก็ถ่ายมูลลงมาได้เช่นเดิม

     

      

     

  2. วิธีการใช้เสียงต่างๆ

    เช่น ปืน ประทัด ระเบิด ฯลฯ ซึ่งมีอานุภาพทำให้เกิดเสียงดังและเกิดแรงอัดอากาศจนสั่นสะเทือน จะใช้ได้ผลในชั่วขณะ เมื่อทำบ่อยๆนกก็จะเกิดความเคยชินและปรับตัวได้

     

     

  3. วิธีการใช้กลิ่นต่างๆ ที่นกไม่ชอบ

    ใช้กลิ่นที่นกไม่ชอบในการขับไล่นก เช่น กลิ่นสกัดจากเม็ดองุ่น หรือใช้เคมีที่มีผลโดยตรงกับเยื่อบุหลอดลมของนก ได้แก่ การบูร พิมเสน แน็พธาลีน (ลูกเหม็น) ฯลฯ ซึ่งทำให้นกเกิดการระคายเคือง และมีผลต่อระบบประสาทของนกทำให้นกคลื่นไส้ อาเจียน และเวียนศีรษะ มักจะใช้ได้เพียงระยะหนึ่ง และต้องใช้ซ้ำๆ จนนกชิน และรู้จักทำลายหรือเขี่ยทิ้ง ขณะเดียวกัน กลิ่นหรือไอระเหยจะหมดไปอย่างรวดเร็ว เมื่อถูกแสงแดดหรืออุณหภูมิสูงๆ

     

     

  4. วิธีการใช้กาวดักหนู เรซิ่น จาระบีหรืออื่นๆ

    ที่มีลักษณะเหนียวๆ มาใช้ทาป้องกันนก นกจะเรียนรู้ และนำกิ่งไม้มาทับหรือถ่ายมูลลงมาทับ แล้วมันก็มาอยู่อาศัยได้เช่นเดิม ขณะเดียวกัน กาวหรือสิ่งที่กล่าวในตอนต้น มักจะไหลเยิ้ม แห้งตัว และติดแข็งทำให้เกิดความสกปรก เลอะเทอะ ยากต่อการทำความสะอาด ดังนั้น หากต้องการใช้วิธีการนี้ (เพราะเป็นวิธีที่ง่าย) ควรใช้เจล สำหรับไล่นกซึ่งเจลจะทำหน้าที่พันตามปีก และหางในขณะที่นกเข้ามาสัมผัส ทำให้นกเสียสมดุลในการบิน จึงทำให้นกไม่สามารถทำลาย หรือเรียนรู้และปรับตัวได้

     

     

     

  5. วิธีการใช้สิ่งกีดขวางที่มีความคม

    เช่น เศษแก้ว เข็ม ลวดสนาม ฯลฯ หากนำมาใช้บังคับ จนนกไม่มีทางเลือกที่จะไป ถึงแม้มันจะโดนจนเลือดสาด มันจะปรับตัวและพยายามดิ้นรนที่จะอยู่ให้ได้ (นกพิราบมีนิสัยหวงที่อยู่) โดยการทำลาย จิก ตี ถ้าป้องกันด้วยเข็ม อาจจะทำให้เข็มที่ไม่แข็งแรงและไม่มีสปริงในตัวหักงอและถ่างออกได้

     

     

  6. การวางยาเบื่อหรือใช้หมากดิบ

    โดยนำมาคลุกกับข้าวเปลือก ต้องใช้วิธีการสอดไส้ ซึ่งทำได้ครั้งเดียว ครั้งต่อไปนกจะรู้ทันไม่ยอมจิกกินอีก และนกที่ตายอาจส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว

     

  7. การใช้สิ่งแปลกปลอมต่างๆ

    เช่น หุ่นจำลอง สิ่งสะท้อนแสงต่างๆ คลื่นแสงต่างๆ ฯลฯ หากไม่สามารถทำอันตรายกับนกได้โดยตรง มันจะเรียนรู้จนไม่กลัว และเกิดความเคยชินกับการใช้คลื่นสนามแม่เหล็ก

     

  8. การใช้สัตว์จริงในการขับไล่นก

    เช่น แมว หมา เหยี่ยว ฯลฯ ควรต้องมีการฝึกฝนจนชำนาญ โดยฝึกให้ไล่ หลีกเลี่ยงอย่าให้มันเข้าใกล้หรือกินเพราะอาจติดเชื้อตายได้

     

     

  9. การปลูกต้นไม้บังตามทิศทางที่กำหนด

    สามารถใช้ขับไล่นกพิราบได้เฉพาะต้านไม้หนาทึบและใน ส่วนของนกชนิดอื่นๆ ไม่สามารถป้องกันได้

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

ระวัง! อย่าสัมผัสมูล "นกพิราบ" เสี่ยงเป็นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ

 

เตือนระมัดระวังอันตรายไม่ควรสัมผัสมูลนกพิราบ เพราะอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สูงถึงร้อยละ 9.09

 

          รศ.สุพรรณ สุขอรุณ หัวหน้าภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการศึกษาการกระจายของเชื้อชนิดก่อโรคในมูลนกชนิดต่าง ๆ ได้แก่ นกพิราบ กา นกปากห่าง นกแก้ว ซึ่งเก็บรวบรวมมาจาก 13 แหล่งที่มีนกเหล่านี้ชุกชุมพบว่าในมูลนกพิราบมีเชื้อ Cryptococcus neoformans ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สูงถึงร้อยละ 9.09     "ขอเตือนประชาชนที่เข้าใกล้นกประเภทนี้ ให้ระมัดระวังอันตรายจากการสัมผัสมูลนกที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทำให้ได้รับเชื้อโรค โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกันให้ระมัดระวังการสัมผัสกับมูลนก เพราะอาจก่อปัญหาโรคที่ก่ออันตรายแก่ตนเองและบุตรหลานได้" รศ.สุพรรณกล่าว  , รศ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการศึกษาติดตามศึกษาวิจัยในมูลนกต่าง ๆ ที่พบมากขึ้นในแหล่งชุมชน อาจเป็นผลมาจากการแหล่งอาหารในธรรมชาติน้อยลง ส่งผลให้นกเข้ามาอาศัยอยู่ใกล้มนุษย์มากขึ้น ขณะเดียวกันมนุษย์มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อง่ายขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งอุบัติการณ์ของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องมีมากขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา : manager.co.th

 

ตัวอย่างโรคภัย 

            โรคภัยที่เกิดจากนกเป็นพาหะเช่น ไวรัสตับอักเสบบีเยื่อหุ้นสมองอักเสบปอดอักเสบเฉียบพลันปอดบวมไข้กาฬหลังแอ่น ไข้หวัดนก รวมถึง แบคทีเรีย และไวรัสต่างๆ เชื้อรา ตัวไรนก พยาธิ เป็นต้น  ซึ่งเชื้อเหล่านี้  มักจะอยู่ในบริเวณที่มีนกอาศัยอยู่หากวันหนึ่งวันใด ร่างกายของเราอ่อนแอลงเมื่อไหร่ ก็จะทำให้เราติดเชื้อได้โดยง่าย และก็จะแสดงอาการออกมา ทำให้เราเจ็บป่วย ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงนี้   มักจะเป็นแล้วรักษาไม่หาย หรือ บางโรคอาจตายโดยเฉียบพลัน ไม่อาจรักษาได้ทันดังนั้น   จึงควรหาทางระวังป้องกัน  ด้วยการทำลายแหล่งที่อยู่ที่อาศัยของนก รวมถึงแหล่งแพร่เชื้อต่างๆ  และในจุดที่แสงแดดไม่สามารถส่องถึง 

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

 

           นกพิราบสามารถสืบพัน์ได้ตั้งแต่อายุ 6 ~ 8 เดือน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์สภาวะแวดล้อมโดยปกตินกพิราบ 1 คู่ จะแพร่พันธุ์ภายใน 1 ปี ได้รุ่นลูกรุ่นหลานประมาณ 40 ตัว แต่ส่วนใหญ่มักจะตาย เนื่องจาก ภายในตัวนกมักจะเต็มไปด้วยเชื้อโรคต่างๆ มากมาย ตัวที่อ่อนแอ จึงตายลงดังนั้นตัวที่ยังมีชีวิตอยู่ไดจึงเป็นตัวพาหะอย่างดีเพราะมัน สามารถทนต่อโรคได้ดี และมันก็พยายามหาทางเอาชีวิตรอด ด้วยการหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยสำหรับตัวมัน จึงมักจะมาอาศัยตาม สิ่งก่อสร้างต่างๆ อยู่ร่วมกับมนุษย์ ดังนั้น ในบริเวณที่มีนกอาศัยอยู่ ก็ย่อมเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคต่างๆ เช่นกัน